25 ธันวาคม 2550

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของไทย และ ดาวเทียมของไทย

ดาวเทียมธีออส (THEOS - Thailand Earth Observation Systems)
เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ดำเนินงานร่วมกับบริษัทเอียดส์ แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6000 ล้านบาท โดยเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 19 ก.ค.47

ดาวเทียมธีออส มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม มีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 820 กิโลเมตร โคจรรอบโลกทุก 26 วัน มีกล้องถ่ายภาพที่ใช้ระบบซีซีดี สามารถบันทึกภาพจากการสะท้อนแสงของพื้นโลก ได้เป็นภาพขาวดำ (Panchromatic) ที่รายละเอียด 2 เมตร แต่ละภาพมีความกว้าง 22 กม. และภาพสเปกตรัม (Multispectral) ที่รายละเอียด 15 เมตร แต่ละภาพมีความกว้าง 90 กิโลเมตร มีอายุการใช้งาน 5 ปี ซึ่งบันทึกได้ 4 ช่วงคลื่นหรือแบนด์ ได้แก่
แบนด์ 1, 0.45-0.52 ไมครอน (น้ำเงิน)
แบนด์ 2, 0.53-0.62 ไมครอน (เขียว)
แบนด์ 3, 0.62-0.69 ไมครอน (แดง)
แบนด์ 4, 0.77-0.90 ไมครอน (อินฟาเรดใกล้)
การบันทึกภาพของดาวเทียมธีออสใช้ระบบถ่ายภาพเช่นเดียวกับกล้อง (Optical system) โดยใช้ “ซีซีดี” (Charge Coupled Devices:CCD) เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพ ณ ระนาบรวมแสงของระบบ ซึ่งจะแปลงข้อมูลจากแสงที่สะท้อนจากพื้นโลกให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และตัวเลนส์ของกล้องผลิตจากซิลิกอนคาร์ไบด์ (Silicon Carbide)สถานีรับสัญญาณดาวเทียมตั้งอยู่ที่ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยมีสถานีควบคุมดาวเทียม อยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ดาวเทียมธีออส มีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 จากฐานปล่อยดาวเทียม เมืองไบโคนัวร์ ประเทศคาซัคสถาน โดยใช้จรวดเน็ปเปอร์ (DNEPR) ของประเทศยูเครน เป็นจรวดนำส่ง และจะเริ่มปฏิบัติงานได้เต็มประสิทธิภาพภายในปี พ.ศ. 2550
Theos เป็นภาษากรีก แปลว่า พระเจ้า

ไทยคม
ดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติดวงแรกของรัฐบาลไทย ผลิตโดย บริษัท Hughes Aircrafts จำกัด (ประเทศสหรัฐอเมริกา) ดาวเทียมไทยคมมีรูปทรงกระบอก เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลาย เพราะมีขนาดกะทัดรัด มีน้ำหนักค่อนข้างเบา มีอายุการใช้งาน 15 ปี ทั้งนี้เป็นเพราะอายุการใช้งานจะขึ้นกับความจุของเชื้อเพลิง โดยดาวเทียมรุ่น HS-376 สามารถบรรจุเชื้อเพลิงได้สำหรับใช้งานเต็มที่ 15 ปี ดังนั้นในช่วงระยะเวลาสัมปทานของโครงการฯ รวม 30 ปี จะต้องมีการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่ตำแหน่งวงโคจรบนอวกาศอย่างน้อย 2 รุ่นด้วยกัน และตามข้อกำหนดในสัมปทานนั้น ในการส่งดาวเทียมแต่ละรุ่นจะต้องส่งเป็นจำนวน 2 ดวง เพื่อเป็นการขยายให้มีจำนวนทรานส์พอนเดอร์สำหรับใช้งานมากขึ้น เมื่อรวมทั้งหมดแล้ว โครงการดาวเทียมไทยคม จะมีการยิงดาวเทียมขึ้นสู่ตำแหน่งวงโคจรทั้งสิ้นอย่างน้อย 4 ดวง
องค์ประกอบหลักของดาวเทียมไทยคม รุ่น HS-376 ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์สำหรับส่งสัญญาณที่เรียกว่า "ทรานสพอนเดอร์" (Transponders) จำนวน 12 ทรานสพอนเดอร์ แบ่งเป็นความถี่ย่าน C-Band จำนวน 2 ทรานสพอนเดอร์ : มีพื้นที่ บริการครอบคลุมเฉพาะประเทศไทย และในภูมิภาคใกล้เคียงเฉพาะเขตภูมิภาคอินโดจีน
ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม มีข้อได้เปรียบกว่าดาวเทียมดวงอื่นๆ ที่ประเทศไทยใช้อยู่คือ มีความแรงของสัญญาณเหมาะสมกับประเทศไทยเป็นพิเศษ และเป็นดาวเทียมดวงเดียวในภูมิภาคนี้ที่มีความถี่ย่าน Ku-Band ประโยชน์ของดาวเทียมไทยคม แบ่งได้ดังนี้
ด้านโทรทัศน์สถานีแม่ข่ายสามารถส่งรายการผ่านดาวเทียม ไปยังสถานีเครือข่ายหรือสถานีทวนสัญญาณ เพื่อออกอากาศแพร่ภาพต่อในเขตภูมิภาค สามารถทำการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมได้โดยอุปกรณ์เคลื่อนที่
ด้านวิทยุกระจายเสียงสามารถถ่ายทอดสัญญาณไปมาระหว่างสถานีวิทยุจากภูมิภาคที่ห่างไกลกัน เพื่อรวบรวมข่าวสาร รวมทั้งแพร่สัญญาณถ่ายทอดต่อ ณ สถานีทวนสัญญาณ
ด้านโทรศัพท์สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์จากชุมสายต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ห่างไกลเข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์ ทำให้การสื่อสารสะดวก สามารถส่งผ่านได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ

ดาวเทียม iPSTAR
เป็นดาวเทียมในวงจรค้างฟ้า โดยมีการใช้เทคโนโลยี และการออกแบบใหม่ในส่วนดาวเทียม และอุปกรณ์ภาคพื้นดิน ซึ่งเป็นการปรับปรุงปริมาณแถบความถี่อย่างขนานใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ในเทคโนโลยีดาวเทียมปัจจุบัน ดาวเทียม iPSTAR จะสามารถรับส่ง ข้อมูลได้ถึง 40 Gbps ซึ่งเร็วกว่าดาวเทียมปกติมาก ทำให้ สามารถรองรับความต้องการการใช้แถบความถี่กว้างสำหรับ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจำนวนมากนับล้าน ทั้งระดับ ผู้บริโภค องค์กร ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตและโทรคมนาคมไอพีสตาร์เกตเวย์
ระบบภาคพื้นดินของไอพีสตาร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ปลายทาง เกตเวย์ และ เครือข่าย ซึ่งในส่วนของเกตเวย์นั้น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ได้กำหนดสถานที่ตั้งเกตเวย์ของไอพีสตาร์ ภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จำนวน 18 แห่ง ได้แก่
1. เดลลี, ประเทศอินเดีย
2. บอมเบย์, ประเทศอินเดีย
3. ปทุมธานี, ประเทศไทย
4. ปักกิ่ง, ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนจีน
5. กวางโจว, ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนจีน
6. จาการ์ต้า, ประเทศอินโดนีเซีย
7. โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
8. คาร์ลกูลี่, ประเทศออสเตรเลีย
9. โบรคเค็น ฮิลล์, ประเทศออสเตรเลีย
10. เซี่ยงไฮ้, ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน
11. โซล, ประเทศเกาหลีใต้
12. มะนิลา, ประเทศฟิลิปปินส์
13. กัวลาลัมเปอร์, ประเทศมาเลเซีย
14. ไทเป, ประเทศไต้หวัน

อ้างอิงจาก :
http://www.rspg.org/theos.htm
http://www.rspg.org/thaikom.htm
http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=35443